ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา

สอศ.นำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาขับเคลื่อนการศึกษาระบบทวิภาคี

ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมยกระดับการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีคุณภาพสูง ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และนายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรม ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ว่า การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี เป็นนโยบาย Quick Win ของ สอศ. เพราะเรามองว่าการจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจะต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชน

ซึ่งขณะนี้ภาคเอกชนต้องการกำลังคนที่มีคุณภาพ มีฝีมือแรงงานระดับสูงเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมระบบราง ระบบการบิน เป็นต้น ดังนั้นวิทยาลัยอาชีวศึกษาจะเดินหน้าผลิตคนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อจัดการเรียนการสอนร่วมกันด้วย

ว่าที่ร้อยตรีธนุกล่าวต่อว่า น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มอบนโยบายว่าภายใน 3 ปี สอศ.ต้องเพิ่มผู้เรียนทวิภาคีให้ได้ 50% โดยปัจจุบันสามารถจัดการศึกษาทวีภาคีประมาณ 20% ซึ่งตนมั่นใจว่า สอศ.จะสามารถขยับได้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้แน่นอน เพราะวันนี้อาชีวะเราเปิดรับเอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาแล้ว คือ ให้มีโรงงานในโรงเรียน และให้มีโรงเรียนในโรงงาน

ซึ่งขณะนี้มีหลายวิทยาลัยที่เเปิดให้ภาคเอกชนเอาเครื่องจักร เครื่องมือมาตั้ง และนำวิทยากรมาสอนในวิทยาลัยแล้ว นอกจากนี้ ทางเอกชน ได้สะท้อนมาว่ายังติดขัดในระเบียบ หลักเกณฑ์บางตัวอยู่ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.​และ สอศ.ก็พร้อมที่จะดำเนินการแก้ไขตามอำนาจที่มีอยู่ เพราะทุกฝ่ายเห็นว่าการศึกษาระบบทวิภาคีเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้สามารถผลิตคนตามวิสัยทัศน์ใหม่ของ สอศ. คือ ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง

“การประชุมวันนี้ ได้หารือกับภาคเอกชนเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาระบบทวิภาคีทั้งระบบ ตั้งแต่ส่วนกลางไปถึงระดับจังหวัด โดยต่อไปการศึกษาระบบทวิภาคี จะมีคณะกรรมการหลายระดับขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อน ดังนี้ ระดับส่วนกลาง จะมีคณะกรรมการบริหารทวิภาคี โดยมีรัฐมนตรีว่าการ ศธ.เป็นประธาน และมีตัวแทนจะสภาอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ร่วมเป็นคณะกรรมการ ในส่วนของ สอศ.ก็จะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการศึกษาระบบทวิภาคี ในระดับภูมิภาค จะมีศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาระบบทวิภาคีระดับภาค และในระดับจังหวัด จะมีศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาระบบทวิภาคีระดับจังหวัดโดยให้อาชีวศึกษาจังหวัด (อศจ.) หรือผู้อำนวยการวิทยาลัยในพื้นที่เข้ามาเป็นกรรมการ ทำงานเชื่อโยงกับภาคเอกชนในระดับจังหวัด โดยจะมาวางแผนร่วมกันว่าในจังหวัดของตนควรจะหลักสูตรทวิภาคีด้านไหน เพื่อให้สอดคล้อง ตอบโจทย์การพัฒนาระดับจังหวัด ซึ่งที่ผ่านมาระดับจังหวัด ไม่เคยมีศูนย์ขับเคลื่อนฯเลย แต่ สอศ.มองว่าการขับเคลื่อนทวีภาคีต้องกระจายไปจังหวัดต่างๆ ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนงานจะรวดเร็วขึ้น” ว่าที่ร้อยตรีธนุกล่าว

ว่าที่ร้อยตรีธนุกล่าวต่อว่า ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ประเทศไทยได้ผลักดัน การส่งเสริมการเปิดโอกาสด้านการค้าการลงทุน การส่งเสริมความเชื่อมโยง และการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน โดยมีแนวคิดเศรษฐกิจ BCG เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่ง สอศ.​จะนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาขับเคลื่อนการศึกษาระบบทวิภาคีด้วย

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ rbrlodge.com

UFA Slot

Releated